“บขส.” ลั่นปีหน้าได้ใช้แน่รถโดยสารไฟฟ้า 75 คัน ยกระดับบริการ ปชช.

นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นวันสถาปนา บขส. ครบรอบ 93 ปี และก้าวสู่ปี 94 ในปี 67 ซึ่ง บขสคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. ยังเดินหน้าพัฒนาคุณภาพบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งที่จะได้เห็นในปี 67 คือเรื่องจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (อีวี) 75 คัน วงเงิน 596 ล้านบาท มาให้บริการประชาชน ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างขอบเขตงาน (ทีโออาร์) คาดว่าแล้วเสร็จเดือน ก.ค. นี้ จากนั้นจะนำทีโออาร์ประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์ หากไม่มีข้อท้วงติงเข้าสู่ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และลงนามสัญญากับผู้ชนะได้ภายในปี 66 เพื่อกำหนดส่งมอบรถโดยสารอย่างเร็วเดือน ก.พ. 67 หรืออย่างช้าเดือน เม.ย. 67

ซึ่งรถโดยสารไฟฟ้า 75 คัน แบ่งเป็น 1.รถโดยสารขนาดใหญ่ใช้พลังงานไฟฟ้า(อีวี)จำนวน 21 คัน วงเงิน 228 ล้านบาท สัญญาเช่า 5 ปี รถมาตรฐานชั้นเดียว ขนาด 12 เมตร จำนวนไม่เกิน 36 ที่นั่งให้บริการเส้นทางที่มีระยะทางไม่เกิน 500 กิโลเมตร(กม.)และ 2.รถโดยสารขนาดเล็กใช้พลังงานไฟฟ้า(อีวี)จำนวน 54 คัน วงเงิน 368 ล้านบาท สัญญาเช่า 5 ปี จำนวนไม่เกิน 27 ที่นั่ง ให้บริการเส้นทางที่มีระยะทางไม่เกิน 250 กม. ซึ่งหากหารถโดยสารไฟฟ้า 75 คันแล้วเสร็จ หลังจากนั้น บขส. จะจัดหารถโดยสารที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงทางเลือก จำนวน 257 คันต่อไป

นายสัญลักข์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีแผนพัฒนาสถานีเดินรังสิตให้เป็นสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าแห่งแรกของ บขส. เพื่อรองรับรถโดยสารไฟฟ้า พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ งบประมาณราว 50-60 ล้านบาท จากสถานีสถานีเดินรังสิตมีพื้นที่ประมาณ 10 กว่าไร่ ปัจจุบันเป็นทั้งสถานีเดินรถและศูนย์ซ่อมบำรุงและตรวจสภาพรถ (รังสิต) ซึ่งการพัฒนาสถานีเดินรังสิตครั้งนี้ จะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนในการสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า โดย บขส. สนับสนุนพื้นที่ และให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนพัฒนาสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า เมื่อเปิดบริการแล้วจะต้องมีการแบ่งรายได้ให้ บขส. ด้วย ซึ่งแผนดังกล่าวจะดำเนินการไปควบคู่กับการจัดหารถโดยสารไฟฟ้า 75 คัน ซึ่งจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมกับการรับมอบรถ เพื่อสามารถใช้งานได้ทันที

ทั้งนี้ยังดำเนินการแผนให้เอกชนร่วมลงทุนการพัฒนาที่ดินในกรรมสิทธิ์ของ บขส. ในพื้นที่ที่ดินจำนวน 4 แห่ง ขนาดรวม 30 ไร่ ประกอบด้วย 1.ที่ดินบริเวณแยกไฟฉาย 2.สถานีเดินรถชลบุรี จ.ชลบุรี 3.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(ปิ่นเกล้า)และ 4.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(เอกมัย)เพื่อหารายได้เพิ่ม และชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไปจากการเดินรถ

นายสัญลักข์ กล่าวอีกว่า โดย บขสคำพูดจาก pg เว็บตรง. เชิญชวนนักลงทุนซื้อเอกสารร่วมพัฒนาที่ดินจำนวน 2 แห่ง ขนาดพื้นที่ 8 ไร่ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณแยกไฟฉาย ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ พื้นที่ 3 ไร่ และ 2.โครงการพัฒนาพื้นที่ ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี 5 ไร่ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.-21 เม.ย. 66 ผลปรากฏว่าไม่มีเอกชนซื้อเอกสารลงทุนสักราย คาดว่าเกิดจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และอยู่ในช่วงจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ไม่มีผู้สนใจซื้อเอกสารร่วมลงทุน ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีเอกชนโทรศัพท์มาสอบถามอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในเดือน ส.ค. นี้ บขส. จะประกาศเชิญชวนหาเอกชนร่วมลงทุนเป็นครั้งที่ 2 หากมีเอกชนสนใจซื้อเอกสารและร่วมยื่นข้อเสนอลงทุนตามกระบวนขั้นตอนที่กำหนด ประมาณช่วงเดือน ต.ค. 66 เอกชนผู้ชนะจะสามารถเข้าพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่ตามแผนที่เสนอต่อไป

หลังจากนั้นจะเร่งเปิดให้เอกชนร่วมพัฒนาที่ดินอีก 2 แห่งที่เหลือ ได้แก่ 1.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(ปิ่นเกล้า)พื้นที่ 15 ไร่และ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(เอกมัย)พื้นที่ 7 ไร่อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลโครงการนำเสนอค่าตอบแทนและการลงทุนในอนาคต รวมทั้งดำเนินการเรื่องสถานีขนส่งผู้โดยสาร และรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย เนื่องจากปัจจุบันสถานีปิ่นเกล้ายังใช้ในการจอดรถตู้โดยสารอยู่ ดังนั้นจึงต้องปรับพื้นที่ให้เป็นจุดจอด เพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น อนาคตจะปรับเปลี่ยนรถตู้ให้ไปจอดที่สถานีสายใต้ใหม่แทน ซึ่งเรื่องนี้ต้องเสนอกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

หากสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายที่วางไว้ เชื่อว่าอนาคตจะทำให้ บขส. มีรายได้มากขึ้น ลดความเสี่ยงในการขาดทุน ช่วยยกระดับบริการประชาชนได้ใช้รถโดยสารใหม่ สะอาด สะดวก ปลอดภัย สนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษทางอากาศ

You May Also Like

More From Author